วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Marketing Model Price


Marketing Model Price 
โดย เถกิงเดช เกื้อโกศล  DBA SPU
รหัสนักศึกษา 57560180  No 4. เสนอ ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

Price

Ø  ความหมาย



ราคา (Price)  หมายถึง  มูลค่าสินค้าและบริการในรูปของตัวเงินหรือเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อต้องจ่ายสำหรับการได้มาซึ่งบางสิ่ง  (Stanton & Buskirk, 1987)    ราคาสินค้าที่ธุรกิจกำหนดต้องมีความสอดคล้อง     กับส่วนประสมการตลาดอื่นๆ  และ   สอดคล้องกับต้นทุน    ตลอดจนสอดคล้อง    กับคุณภาพของสินค้า    ที่เสนอขาย     สอดคล้องกับรายได้  และ  สถานภาพของผู้ซื้อ    สภาวะเศรษฐกิจ ความจำเป็นในการใช้ความ สามารถ  ในการใช้ทดแทนกันของสินค้าชนิดอื่น     รวมทั้งสอดคล้อง  กับราคาสินค้าของธุรกิจคู่แข่งขันในตลาด   ราคาสินค้าที่เหมาะสม  จะช่วยดึงดูด  และ   กระตุ้นปริมาณความต้องการซื้อสินค้าของลูกค้าได้มาก

ราคา (Price)  หมายถึง จำนวนที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์/บริการ หรือเป็นคุณค่าทั้งหมดที่ลูกค้ารับรู้เพื่อให้ได้ผลประโยชน์   จากการใช้ผลิตภัณฑ์/บริการ   คุ้มกับเงินที่จ่ายไป (Armstrong, 2009; Kotler, 2009) หรือ หมายถึง  คุณค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน  ราคาเป็น P ตัวที่สองที่เกิดขึ้น  ถัดจาก Product ราคาเป็นต้นทุน (Cost) ของลูกค้า  ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่า (Value) ของผลิตภัณฑ์กับราคา (Price) ของผลิตภัณฑ์นั้น     ถ้าคุณค่าสูงกว่า     ราคาผู้บริโภค    จะตัดสินใจซื้อ    ดังนั้นผู้กำหนดกลยุทธ์ด้านราคา  ต้อง    คำนึงถึง  (1) คุณค่าที่รับรู้ในสายตาของลูกค้า ซึ่งต้องพิจารณาการยอมรับของลูกค้าในคุณค่าของผลิภัณฑ์ว่าสูงกว่าผลิตภัณฑ์นั้น (2) ต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง (3) การแข่งขัน(4) ปัจจัยอื่น ๆ

ราคา (Price) หมายถึง จำนวนเงินที่บุคคลต้องจ่ายเพื่อตอบแทนกับการได้รับกรรมสิทธิ์ สิทธิ ความสะดวกสบายและความพอใจในผลิตภัณฑ์นั้นให้กับเจ้าของเดิม เช่น ค่าเช่า (Rent)   เป็นราคาสำหรับการเช่าที่ดินและที่อยู่อาศัย ค่าลงทะเบียนหรือค่าสอน (Tuition)   เป็นราคาสำหรับการศึกษา ค่าโดยสาร (Fare) เป็นราคาสำหรับผู้ใช้แรงงาน ดอกเบี้ย(Interest) เป็นราคาสำหรับการกู้ยืมเงิน กำไร (Profit) เป็นราคาสำหรับการตอบแทนผู้ประกอบการสินบน (Bribe)  เป็นราคาสำหรับโอกาสในการทำความผิด   จ่ายภาษี (Taxes)   เป็นราคาสำหรับรัฐบาล เพื่อการพัฒนาประเทศ เป็นต้น  (Wisner, 1996)


Ø องค์ประกอบของ ราคา ( Price )



การกำหนดราคา เพื่อยึดค่าที่ธุรกิจสร้าง


o   กำหนดได้ 2 วิธี

                       1. การกำหนดราคาจากต้นทุน ( Cost-based pricing )

เป็นการกำหนดราคาจากต้นทุนเป็นหลัก  เหมาะกับธุรกิจที่ผลิตสินค้าทั่วๆไป  สินค้าไม่มีความแตกต่างกัน  ทำให้การกำหนดราคาไม่ต้องคำนึงถึงผู้ซื้อ  ว่าจะมีความเต็มใจจะจ่ายเพื่อซื้อสินค้าเท่าไร  ธุรกิจนี้จึงเน้นการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำ  เพื่อสามารถแข่งขันกับผู้ขายรายอื่นในตลาดและสร้างผลกำไรแก่องค์     

2.  การกำหนดราคาจากฐานค่าของสินค้า (Value-based pricing )

 เป็นการกำหนดราคาโดยพิจารณาถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก  เพื่อสามารถกำหนดราคาสินค้าให้สูงความความเต็มใจจะจ่ายของผู้ซื้อ ธุรกิจประเภทนี้จึงเน้นการสร้างความแตกต่างให้แก่สินค้า  เพิ่มคุณค่าสินค้า เอาใจใส่กับความรู้สึกและความคิดเห็นของลูกค้า  และพยายามปรับปรุงสินค้าหรือบริการ ตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย (สรยุทธ มีนะพันธ์, 2546)


การกำหนดราคา เชิงซ้อน ( Complex Pricing )

o   กำหนดได้ 7 วิธี

1.             การกำหนดราคาแตกต่างตามปริมาณที่ซื้อ ( Block sales or Volume pricing )
ราคาต่อหน่วยจะลดลง  เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าในปริมาณที่มาก   ทำให้ผู้ขายสามารถยึดครองส่วนเกิน   ผู้บริโภคมาเป็นผลกำไรของตนเองได้มาก  เมื่อเทียบกับการกำหนดราคาเดียวทุกปริมาณการซื้อ

2.             การกำหนดราคาแยกประเภทผู้ซื้อ  ( Discriminatory pricing)
เมื่อยึดครองค่าของสินค้าที่ผลิตขึ้นมาให้ได้มากที่สุด    โดยการกำหนดราคาสินค้าแตกต่างระหว่างผู้ซื้อ  ตามความเต็มใจที่จะจ่าย  แม้ว่าต้นทุนการผลิตจะไม่เท่ากันก็ตาม  แต่เป็นการกำหนดราคาตามมูลค่า  ไม่ใช่กำหนดราคาตามต้นทุนการผลิต (ชยันต์ ตันติวัสดาการ, 2550)

3.             การกำหนดราคา  ตามค่าของสินค้าเฉพาะบุคคล   ( Customization pricing )
สำหรับการกำหนดราคาแยกประเภทผู้ซื้อ  โดยการกำหนดราคาจะแบ่งผู้บริโภคเป็นกลุ่มตลาด  ตามความยืดหยุ่นของอุปสงค์    สินค้าที่ขายในตลาดต่างกัน    จะมีราคาที่ต่างกัน     แต่กลุ่มผู้บริโภคในตลาดเดียวกันจะซื้อสินค้าในราคาเดียวกัน

4.             การกำหนดราคาตามเวลาการใช้  ( Time Price )
ผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการเดียวกัน    แต่แตกต่างกันทางด้านเวลาการซื้อ  และ  การใช้บริการ  ถ้าผู้ขายกำหนดราคาที่สูง  สำหรับช่วงเวลาที่ผู้บริโภคเต็มใจจะจ่ายสูง   ก็จะไม่สามารถขายสินค้าหรือบริการได้  ในช่วงเวลาที่ผู้บริโภคมีความเต็มใจจะจ่ายต่ำลง  ทำให้การยึดค่าของสินค้าต้องลดน้อยลงไป    เสียโอกาสในการสร้างรายได้และผลกำไร  ดังนั้น  ผู้ขายควรกำหนดราคาสูง    เมื่อผู้บริโภคต้องการสินค้าหรือบริการสูง  คือ ในช่วงที่ผู้บริโภคมีความเต็มใจ    จะจ่ายสูงสุด  และกำหนดราคาต่ำ  เมื่อผู้บริโภคต้องการสินค้าและบริการน้อยลง  คือ ในช่วงที่ผู้บริโภคมีความเต็มใจจะจ่ายต่ำ

5.             การกำหนดราคาแบบบุฟเฟ่ต์ ( Buffet pricing)
เป็นการกำหนดราคาแบบสองส่วน  ในลักษณะพิเศษ   ที่ผู้ขาย    เก็บเฉพาะค่าบริการแบบคงที่  ดังนั้นจำนวนผู้ใช้บริการต้องมีจำนวนมากพอสมควร    จึงจะคุ้มกับการที่กำหนดไว้        พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าที่มาใช้บริการ  หากมีลูกค้ามาใช้บริการน้อย  รายได้จะไม่คุ้มกับต้นทุนที่เกิดขึ้น  และขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ  ว่ามีโครงสร้างต้นทุนเป็นอย่างไร

6.             การกำหนดราคา สองส่วน ( Two-Part pricing )
เมื่อธุรกิจต้องการกำหนดราคาสองส่วน   มักประสบปัญหาเพราะไม่ทราบ   ความเต็มใจจะจ่าย  ของผู้บริโภค  หากถ้าเรียกเก็บค่าบริการคงที่สูงเกินไป  ก็จะทำให้ผู้บริโภคบางส่วน  ไม่มีโอกาสเข้ามาใช้บริกา และถ้ากำหนดค่าบริการต่ำเกินไป    ก็จะสูญเสียรายได้ส่วนหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคที่เต็มใจจะจ่ายสูง    ดังนั้น   เพื่อแก้ปัญหาความเสี่ยงของการกำหนดราคาสองส่วน   ที่อาจผิดพลาดได้    ธุรกิจจึงนิยมกำหนดราคาสองส่วน  แต่ต่างโครงสร้างกันเพื่อให้ผู้บริโภคเป็นผู้เลือกโครงสร้างราคาสองส่วน    ตามความเหมาะสมกับความเต็มใจจะจ่ายของผู้บริโภค

7.             การกำหนดราคาเป็นชุด ( Product Bundle pricing ) 
ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าที่ให้ประโยชน์สูงสุด  และสินค้าบางชนิด  เมื่อใช้ร่วมกัน  ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มากกว่าการใช้แยกกัน ทำให้ผู้บริโภคเต็มใจจะจ่ายสูงกว่าการแยกซื้อสินค้าเดี่ยว  เราจึงเห็นว่าธุรกิจได้จัดสินค้าเป็นชุด  นำสินค้าต่างๆมารวมกัน  เพื่อสร้างค่ารวมให้สูงขึ้น  และ การกำหนดราคาขายเป็นชุด   (พัฒนา เทวนิยมพันธ์ม, 2550)



Ø ตัววัด Price


เครื่องมือวัดด้านราคา  มี 2 เครื่องมือ

1.             Return on Investment : ROI Marketing

ROI Marketing เป็นเครื่องมือที่ทำให้เห็นภาพ ผลตอบแทนการลงทุนชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

2.             Return on Investment : ROI Analytics ผลตอบแทนทางการลงทุน

ซึ่งช่วยวัดผลประสิทธิภาพของกิจกรรม เทคนิคการตลาดต่างๆที่นิยมใช้อยู่ทั้งหมดให้ออกมาชัดเจน อาทิ การจัดโปรโมชั่น แคมเปญโฆษณา การตั้งราคา หรือการใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ
เนื่องจากพวกเขาสามารถ ประเมินผลลัพธ์ในการลงทุน อาทิ ด้านการเงิน การผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการจัดซื้อสินค้าได้เพราะการทำธุรกิจจำเป็นต้องมุ่งสร้าง ผลกำไรไม่ใช่คิดแต่ในเชิงการตลาดที่มุ่งสร้างกระแส ความสนใจเท่านั้น  (Shin, 2005)



การประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบ

Input       คือ   ต้นทุน  กำไร  ความต้องการของตลาด คู่แข่ง  คุณค่าที่รับรู้ในสายตาผู้บริโภค 
Process   คือ   กระบวนการที่ใช้ในการตั้งราคา
Output   คือ    การประเมินผลที่ออกมาจาก จะดูจากยอดขายที่เกิดขึ้น รวมถึงกำไรได้ตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด


บรรณาณุกรม



ชยันต์ ตันติวัสดาการ. (2550). เศรษฐศาสตร์จุลภาค:ทฤษฏีและการประยุกต์ (Vol. 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัฒนา เทวนิยมพันธ์ม. (2550). กลยุทธ์การตั้งราคาฟิตเนส. ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ.  
สรยุทธ มีนะพันธ์. (2546). เศรษฐศาสตร์การจัดการองค์กรธุรกิจ. กรุงเทพ: สแตรทโทโนมิคส์.


6 ความคิดเห็น:

  1. ถูกใจ ใช่เลยค่ะ !!!! ^_____^

    ตอบลบ
  2. ข้อมูลดีมากๆ เลยค่ะ การนำเสนอก็เยี่ยมมากๆ ค่ะ ชอบๆ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณค่ะ เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาครอบคลุม รายละเอียดต่างๆชัดเจนและเข้าใจง่ายมากค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณมากๆ คะ สำหรับเนื้อหาดีๆ มีสาระ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ6 ธันวาคม 2557 เวลา 07:21

    เนื้อหามีสาระมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ