วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่ 5 Product

โดย เถกิงเดช เกื้อโกศล  DBA SPU

รหัสนักศึกษา 57560180  No 4. เสนอ ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น


บทที่ 5
Product
ผลิตภัณฑ์

ความหมาย
          ดร.ฟิลิปป์ คอตเลอร์ ให้ความหมายของผลิตภัณฑ์ว่า "ผลิตภัณฑ์  หมายถึงอะไรก็ได้ที่สามารถนำเสนอขายสู่ตลาด    เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์

ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้

1.      ผลิตภัณฑ์หลัก (Core product)  ผลิตภัณฑ์ที่บริโภคได้รับจากการซื้อสินค้าโดยตรง
2.      รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Formal/Features product)
3.      ผลิตภัณฑ์คาดหวัง (Expected product) เป็นสินค้าที่ผู้ซื้อคาดหวัง  
4.      ผลิตภัณฑ์ควบ (Augment product) ได้แก่ประโยนช์เพิ่มเติม หรือบริการที่ผู้ซื้อจะได้รับ
        ควบคู่  กับการซื้อสินค้าประกอบด้วยบริการก่อนและหลังการขาย
5.     ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ (Potential product) ได้แก่ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ใหม่ทีมีการ       
        เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า 

ประเภทของผลิตภัณฑ์

          1) สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท

            1.      สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods): ซื้อน้อย  ซื้อบ่อยๆได้

1.1.   สินค้าหลัก (Stable Goods): เป็น สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในครอบครัว
1.2.   สินค้าที่ซื้อฉับพลัน (Impulse Goods): เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อโดยฉับพลัน ณ.ตอนนั้น หรือ การได้รับการกระตุ้นจากSale promotion
1.3.   สินค้าที่ซื้อในยามฉุกเฉิน (Emergency Goods): สินค้า ซื้อฉุกเฉินเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้ทันที

        2.    สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping Goods) สินค้าที่ผู้บริโภคมีการเปรียบเทียบก่อนซื้อ ในด้านราคา ตรา คุณสมบัติ รูปแบบ ฯลฯ มักจะมีลักษณะเด่น ดังนี้
สินค้าเปรียบเทียบซื้อ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

2.1.   สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่เหมือนกัน (Homogeneous Shopping goods)
2.1.1.      สินค้ามีรูปแบบเดียวกัน คล้ายกัน หรือมาตรฐานเดียวกัน ในรูปทรง ขนาด คุณสมบัติ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1.2.      ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบคุณสมบัติ ต่างๆ เช่น รูปแบบ ขนาด อรรถประโยชน์ ถ้าเหมือนกันจะตัดสินใจที่ราคา

2.2.   สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่แตกต่างกัน (Heterogeneous Shopping goods)
2.2.1.      สินค้าที่มีคุณลักษณะต่างกันใน รูปแบบ สี คุณสมบัติ การใช้การรับประกัน สีสัน เสื้อผ้า รองเท้า
2.2.2.      ผู้บริโภคมักตัดสินใจที่ ความแตกต่างที่ไม่เหมือนกับสินค้ายี่ห้ออื่น เช่น รูปแบบ คุณสมบัติพิเศษ สมรรถนะของสินค้า

3.สินค้าเจาะจงซื้อ (Specialty Goods) คือ

3.1.   สินค้าที่มีคุณสมบัติพเศษ ผู้บริโภคใช้ความพยายามมากและใช้เวลานานในการซื้อ
3.2.   ผู้บริโภคใช้เหตุผลในการซื้อ
3.3.   อายุการใช้งานนาน ราคาค่อนข้างสูง (สูงกว่าสินค้าเปรียบเทียบซื้อ)
3.4.   เป็นสินค้าที่มีซื่อเสียง มีมานาน คนส่วนใหญ่รู้จัก
3.5.   ผู้ซื้อเจาะจงตราก่อนซื้อ และตัดสินใจซื้อใว้ล่วงหน้า เช่น รถยนต์ บ้าน เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพง

                     4       สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods)   แบ่ง ได้ 2 ประเภท คือ

4.1.   สินค้าเป็นที่รู้จัก แต่ยังไม่มีความต้องการซื้อ (Regularly unsought goods)  เพราะ ว่าผู้บริโภค ไม่เห็นประโยชน์ เช่น ดาวเทียม ประกันชีวิต ปริญญาโทหรือ เอก
4.2.   สินค้าใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จัก (New product unsought goods) สินค้า ที่ผู้ผลิตเพิ่งนำออกสู่ตลาด มีความทันสมัย เทคโนโลยีใหม่ ราคาแพง ผู้บริโภคไม่รู้ว่า จะซื้อไปทำไม เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิทางหู

การวัดผล

การนำ VBM (Value Based Management)  มาเป็นตัววัดประกอบด้วย
TWC, DPO, DSO, ROI and the most important thing is Cash Flow.
มูลค่าของ บริษัทจะถูกกำหนดโดยลด ของ กระแสเงินสดในอนาคต ราคา จะถูกสร้างขึ้น เฉพาะเมื่อ บริษัท ลงทุนทุน ที่ ให้ผลตอบแทน ที่ สูงกว่า ต้นทุนของเงินทุน ที่ VBM ขยาย เหล่านี้
แนวคิด โดยเน้น วิธีการที่ บริษัท ใช้พวกเขา ที่จะทำให้ ทั้งสอง ที่สำคัญ เชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจ ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน ดำเนินการ อย่างถูกต้องก็ เป็น วิธีการ ที่จะการจัดการ ที่สอดคล้องแรงบันดาลใจ โดยรวมของ บริษัท เทคนิค การวิเคราะห์และ กระบวนการบริหารจัดการ ที่จะมุ่งเน้น การตัดสินใจ ใน การบริหารจัดการไดรเวอร์ที่สำคัญ ของมูลค่าหลักการ

การประยุกต์ใช้

Input  เช่นการวิจัยทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด การวิเคราะห์ทางการขาย และอื่น ๆ เพื่อเข้าสู่   
Process กระบวนการของขั้นตอนเพื่อได้มาซึ่งความคิดใหม่ ซึ่งจะต้องมีการสกรีนในเบื้องต้น เพื่อที่จะได้มาซึ่ง concept ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
Output หลังจากผ่านกระบวนการข้างต้น จะได้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ผ่านการทดสอบ และจัดให้มีแบรนด์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น