วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Marketing Model


ชื่อ เถกิงเดช  เกื้อโกศล
รหัสนักศึกษา  57560180
มหาวิทยาลัย ศรีปทุม DBA 06
ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

PRICE

1.ประวัติความเป็นมา

        4P ทฤษฎีการผลิตในปี 1960 ในประเทศสหรัฐอเมริกาพร้อมกับทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดที่เสนอและเกิดขึ้น ในปี 1953 นีลเลือกตั้ง (เลือกตั้งนีล) ประกาศเกียรติคุณคำว่า "ส่วนประสมการตลาด" (ส่วนประสมการตลาด) ระยะในการพูดการสถาปนาของเขาของสมาคมการตลาดอเมริกัน, ความหมายของมันเป็น
ความต้องการของตลาดที่มีขอบเขตมากหรือน้อย ในเรื่องที่เรียกว่า "ตัวแปรการตลาด" ส่งผลกระทบต่อหรือ "องค์ประกอบการตลาด" เพื่อหาปฏิกิริยาตลาด บริษัท ต้องการที่จะรวมกันที่มีประสิทธิภาพขององค์ประกอบเหล่านี้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและเพิ่มผลกำไร มีจริงหลายสิบขององค์ประกอบส่วนประสมทางการตลาด (เลือกตั้งส่วนประสมทางการตลาดที่นำเสนอไปแล้วรวม
12 องค์ประกอบ), เจอโรมแมคคาร์ (แมคคาร์) ในปี 1960 ในหัวข้อ "การตลาดขั้นพื้นฐาน" ของ (การตลาดขั้นพื้นฐาน) หนังสือเหล่านี้ สรุปองค์ประกอบโดยทั่วไปเป็นสี่ประเภทผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (ราคา), ช่อง (สถานที่), การส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่น) หรือที่เรียกว่า 4Ps ในปี 1967 ฟิลิป Kotler ในหนังสือที่ขายดีที่สุดของเขา "การบริหารจัดการการตลาด: การวิเคราะห์การวางแผนและควบคุม" ฉบับพิมพ์ครั้งแรกได้รับการยืนยันต่อไปด้วยหลักของการตลาดวิธีการผสม 4Ps

        ความหมาย
         มูลค่าของสินค้า และ บริการในรูปของตัวเงิน  หรือ  เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อต้องจ่าย
    สำหรับการได้มาของบางสิ่ง (Stanton 1987:9650)
        จำนวนที่ต้องจ่าย  เพื่อให้ได้สินค้าและบริการ หรือ เป็นคุณค่าทั้งหมดที่ลูกค้า
   รับรู้  เพื่อให้ได้ผลประโยชน์จากการใช้  สินค้าและบริการ  ให้คุ้มกับเงินที่จ่ายไป
 (Armstrong and Kotler. 2009 : 616)

         จำนวนเงินที่บุคคลต้องจ่าย   เพื่อตอบแทน  กับการได้รับ  กรรมสิทธิ์  สิทธิ
   ความสะดวกสบาย  และ  ความพอใจในสินค้านั้น  ให้กับเจ้าของเดิม
    (Wisner 1996:270-271)
 

2.องค์ประกอบหลัก
1) จุดคุ้มทุนและเป้าหมายการทำกำไร
หัวข้อนี้คือสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลาในกระบวนการตั้งราคาเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในอนาคต เพราะหลายครั้งที่ผู้ประกอบการมองข้ามเป้าหมายนี้ไป ทำให้แทนที่จะพยายามปรับราคาและสร้างมูลค่าของสินค้าให้มากขึ้นเพื่อทำกำไรให้ถึงเป้าหมาย แต่กลับไปมุ่งเน้นตัดราคาสินค้าแข่งกับรายอื่นๆ แทน โดยที่ลืมคิดไปว่าจะต้องทำกำไรถึงจะอยู่รอดได้ ดังนั้นการที่จะตั้งราคานั้นเราจึงควรที่จะนั่งคำนวณต้นทุนทั้งหมดออกมาให้เรียบร้อยทั้งค่าแรงงาน ค่าขนส่ง วัตถุดิบ ค่าโฆษณาและอื่นๆ ทุกอย่าง ก่อนที่จะกำหนดว่าเราอยากได้กำไรเท่าไร แล้วค่อยมากำหนดราคาให้ตรงตามเป้านั้นๆ
2) ความต้องการของตลาด
การกำหนดราคานั้นมักเป็นไปตามกลไกของตลาดที่ว่าถ้าสินค้านั้นมีความต้องการของผู้บริโภคสูงก็ย่อมกำหนดราคาสูงได้ตาม ในทางกลับกันถ้าหากสินค้านั้นไม่ค่อยเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากนัก อำนาจในการกำหนดราคาของเราก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นราคาของสินค้าอาจต้องมีความยืดหยุ่นและปรับตัวขึ้นลงได้ตามตลาดอยู่เสมอ โดยในบางครั้งเมื่อเราไม่สามารถปรับลดราคาลงมาได้เพราะกลัวเสียแบรนด์ก็อาจใช้การจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้า หรือแจกของแถมมากขึ้นทดแทนจนกว่าสินค้านั้นจะเป็นที่ต้องการของตลาดอีกครั้งก็ได้
3) คู่แข่ง
การวิเคราะห์การตั้งราคาจากต้นทุนและความต้องการของตลาดนั้นอาจไม่เพียงพอเสมอไป เพราะนอกจาก 2 ปัจจัยข้างต้นแล้วเรายังต้องมคำนึงถึงราคาสินค้าของคู่แข่งเพิ่มเข้าไปด้วย เนื่องจากราคาสินค้าของคู่แข่งเหล่านี้นั้นมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างมาก ลองคิดดูว่าหากมีสินค้าที่มีคุณภาพและทำจากวัตถุดิบที่มีความใกล้เคียงกันแต่ทว่ามีเจ้าหนึ่งราคาถูกกว่าอย่างเห็นได้ชัด ผู้คนก็มักจะเลือกสินค้าชิ้นที่ถูกกว่าเพราะคุณภาพต่างกันไม่มาก แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าวิธีแก้ปัญหาจะเป็นการตัดราคาตนเองลงมาเสมอไป เพราะสิ่งสำคัญในหัวข้อนี้ก็คือการศึกษาคู่แข่งแล้วค่อยนำมาวิเคราะห์ว่าจะเดินหน้าตั้งราคาต่อไปทางไหน จะเลือกทำให้สินค้าดูมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเพื่อตั้งราคาสูงขึ้น หรือหาวิธีลดต้นทุนเพื่อราคามาแข่ง
3. การประยุกต์ใช้
ตัวอย่างในกรณีนี้คือ รถยนต์โตโยต้า Vios
Input  โดยการใช้ SWOT วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดออ่อน ของสินค้า และใช้ Five Forces Analysis มาเป็นข้อมูล Input เข้าไปว่า สินค้าตัวนี้มีจุดแข็งด้านราคา  สามารถพัฒนาให้เป็นสินค้าที่เป็นดาวเด่นได้

Process  กระบวนการทำให้ รถยนต์รุ่นนี้ขายได้ โดยใช้การจัดการด้านต่างๆ เช่น Communication , Change Management , Customer Relatiuonship Management เป็นต้น

Out Put  ผลลัพท์ที่ได้ก็คือ Finance Performance สามารถวัดได้เป็นตัวเงิน คือยอดขายที่เพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ของรถยนต์ประเภทเดียวกัน กับคู่แข็งในท้องตลาด

4.ที่มา
 www.udru.ac.th/website/attachments/elearning/07/06.pdf  ( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)
 th.swewe.net/word_show.htm/?100002053_1&ทฤษฎีการตลาด_4Ps ( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)
www.ex-mba.buu.ac.th/Research%202556/Research.../Chapter%202.pdf( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)
https://m.facebook.com/note.php?note_id=196291397058057..( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)
www2.feu.ac.th/acad/mk/articles_detail.php?id=187 ( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)
mbaholiday.blogspot.com/2013/12/4p-4-cs.htm ( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)
http://incquity.com/articles/pricing101-pricing-theory ( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)
http://kengtawatchai.blogspot.com/2013/06/4ps.html( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)
http://marketingindeed.exteen.com/20090708/4ps-marketing-mix ( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)
http://incquity.com/articles/pricing101-pricing-theory ( สืบค้น เมื่อวันที่ 26/10/2557)


วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Systems Theory

ชื่อ เถกิงเดช  เกื้อโกศล
รหัสนักศึกษา  57560180
มหาวิทยาลัย ศรีปทุม DBA 06
ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น



Systems Theory

1. ประวัติความเป็นมา   ความหมาย

    ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Theory) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1920 โดยผู้ที่เริ่มพูดถึงแนวคิดนี้เป็นคนแรก คือ Bertalanfy นักชีววิทยา ชาวออสเตรีย และ Boulding

    ความหมาย  ระบบที่มีองค์ประกอบ มีความสัมพันธ์กัน จะทำงานผสานกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

2. องค์ประกอบหลัก
     มีอยู่ด้วยกัน 4 ส่วน คือ

     1.  Input        หมายถึง   ที่การป้อนเข้าไป เป็นตัวแปรหลัก

     2. Process     หมายถึง   กระบวนการต่างๆ ที่นำไปสู่ผลลัพท์ หรือ คำตอบ

     3. Out put     หมายถึง   ผลลัพท์ที่วัดผลได้ ทางวิทยาศาสตร์

     4. Feedback  หมายถึง   ผลย้อนกลับ เพื่อมาปรับปรุง ขั้นตอนของ Input และ Process




3. การประยุกต์ใช้

   
    ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
    การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)
    จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


      

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ
หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบ
จึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้
มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
 1.
ปัญหา (Identify Problem)
 2.
จุดมุ่งหมาย (Objectives) 
3.
ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
4.
ทางเลือก (Alternatives) 
5.
การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection) 
6.
การทดลองปฏิบัติ (Implementation) 
7.
การประเมินผล (Evaluation) 
8.
การปรับปรุงแก้ไข (Modification)


ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา
        
ที่ควรแก้ไข

ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด 
มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง    ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ

ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว และต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ


ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวาง และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ


ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป


ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น
        
การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงาน
        
ให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป


ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้
       
ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด 
       
ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข


ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7
        
ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์
        
หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ
        
หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป

ระบบเปิดและระบบปิด
 
 ระบบเปิด ( Open System ) 
     
คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต
    
กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น
    
ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ

  
 ระบบปิด ( Close System ) 
    
คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
    
แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย
    
หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว   ภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้   โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด
    
เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น 



วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน

ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 
1.
การประเมินความจำเป็น 
2.
การเลือกทางแก้ปัญหา 
3.
การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน 
4.
การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย 
 5.การเลือกยุทธศาสตร์การสอน 
6.
การลำดับขั้นตอนของการสอน 
 7.
การเลือกสื่อ 
 8.
การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น 
 9.
การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น 
10.
การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ 
11.
การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก 

ระบบการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กัน
เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน 
ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่าง ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญคือ
กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน
ยูเนสโก ( UNESCO ) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้
โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน คือ

1.
องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน
   
วิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะหรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา
2.
กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น
3.
ผู้สอนต้องหาแนวทาง แนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
4.
การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจ
   
ให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
5.
การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบ 
   
เพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร
   
เป็นการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป
6.
ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่า
   
เป็นอย่างไร นอกจากนี้ บุญชม ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน
   
ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลิต ดังภาพ



ตัวป้อน(Input)หรือปัจจัยนำเข้าระบบ 

คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้สอนหรือครู 
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถ
ความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ

ผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอน
ซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น
ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียน
ทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯ

หลักสูตร
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ

-
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
-
เนื้อหาสาระที่เรียน
-
กิจกรรมการเรียนการสอน(รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน)และการประเมินผล

สิ่งอำนวยความสะดวก อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น
ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ แสดงสว่าง ฯลฯ



กระบวนการ ( Process ) 
ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อน
เป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอน
อาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน
การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริม
การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้
ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน 
ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ

การสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว 
จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ 
ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้น
จึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถาม
ใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้
นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที 
และทำทุกครั้งที่สอน เมื่อพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อม

การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ ควรทำการสอนโดยใช้เทคนิค วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ หลาย ๆวิธี
การใช้กิจกรรมเสริม วิธีสอนแต่ละวิธีหรือรูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไป
ผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเสริมกับวิธีสอน เช่น การให้ทำแบบฝึกหัด 
การให้การเสริมแรง การใช้คำถามชนิดต่าง ๆ การทบทวนสรุป เป็นต้น


ผลผลิต ( Output ) 
ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ 
สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน
ไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีในด้าน 

-พุทธิพิสัย ( Cognitive ) 
-จิตพิสัย ( Affective ) และ
-ทักษะพิสัย ( Psychomotor ) 

การติดตามผล ประเมินผล และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ 
ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆทั้งหมดในระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผล
เป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง


4. ที่มา




อ้างอิง : สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.2546. ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Thinking). [Online]. Available
http://www.thaicivicnet.com/System%20Thinking.htm


http://www.kamsondeedee.com/school/chapter-002/51-2008-12-13-14-44-22/109--system-theory  ( สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2557 )

อ้างอิง : Managing conflict through communication 2007 Dudley D. Cahn, Ruth Anna Abigail
http://wasita.wikidot.com/kasetsart09-rtcsystems
http://advisor1.anamai.moph.go.th/think/theory.htm

เว็บรวมทฤษฎี  http://promrucsa-dba04.blogspot.com/2012/10/strategic-matrix.html
http://www.wattanasinaccounting.com/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9ASystemTheory.htm สำนักงานวัฒนสินการบัญชีและตรวจสอบ